ดนตรี กับ การสร้างบรรยากาศ ซึ่งหากพูดถึงเรื่องนี้แล้วนั้น โสดประสาทการรับรู้ต่างๆของเรามีหลายอย่าง การมองเห็นด้วยตา การสัมผัสด้วยมือ และในวันนี้จะมาพูดถึงการฟังเพลง เป็นการรับสื่อที่เราจะรับทางเสียง การรับฟัง การฟัง ในรูปแบบของดนตรีนั้นมีผลต่องานที่จัดขึ้นมา และการที่จะทำให้เป็นการส่งเสริมบรรยากาศ เพลงนั้นเป็นส่วนประกอบหลักๆเลยก็ว่าได้ เมื่อยู่ในบรรยากาศใดๆก็ตาม นั้นเพลงหรือดนตรีมีส่วนทำให้คนในงานคล้อยตามไปกับงานนั้น ยกตัวอย่างการฟังเพลงในการเสริมสร้างบรรยากาศ เช่น
- ในงานเลี้ยงช่วงก่อนเริ่มงาน เป็นเพลงเบาๆ จะเป็นแบบบรรเลง หรือแบบมีร้องเพลง ด้วย แต่ก็ขอให้มีดนตรีเคล้าบรรยากาศเริ่มงานตอนนั้นไม่ให้เงียบจนเกินไป ดูมีชีวิตชีวา น่าสนใจ
- วงดนตรีเปิดตัวสินค้า ก็ต้องเล่นเพลงที่สนุกสนาน มีชีวิตชีวา ตื่นเต้น มีความเป็นกันเองให้เกิดจุดสนใจในงาน ให้เกิดบรรยากาศที่มีสีสัน ให้คนได้ฟังเพลงอย่างสนุกสนาน
- วงดนตรีงานแต่งงานแบบหรู เราก็เล่นเพลงที่ดูอลังกาล ยิ่งใหญ่ ดูมีความหรูหรา ส่งเสริมบรรยากาศในงานให้อบอวลไปด้วยความสวยงาม เด่นสง่า น่าสนใจ ตื่นตาตื่นใจ
- วงดนตรีงาน After party เป็นช่วงแห่งความมันส์ การเต้น การกระโดดให้สุดเหวี่ยงกับเพลงสุดมันส์ ส่งเสริมบรรยากาศให้แขกในงานได้สนุกตลอดงาน สังสรรค์กันอย่างมีความสุข กับเพลงจังหวะเร็วๆ
การฟังเพลง เป็น กิจกรรมสันทนาการบันเทิงอย่างหนึ่ง การฟังเพลงเป็นที่นิยมกันทุกเพศทุกวัย การฟังเพลง มีส่วนช่วยปรับอารมณ์ของผู้ฟัง ตามเนื้อหาของเพลง หรือ จังหวะของเพลงนั้นๆ
การจัดวงดนตรีได้ตามบรรยากาศของงานเป็นสิ่งหนึ่งที่วงดนตรีจะรับผิดชอบให้เสียงเพลงที่เล่นกับบรรยากาศของงานไปด้วยกันได้ ซึ่งจุดนี้เป็นการส่งเสริมกัน ซึ่งหลายๆครั้งที่ดนตรีมีส่วนทำให้คนคล้อยตามบรรยากาศนั้นได้มามากมาย
มีข้อพิสูจน์จากผลการวิจัยหลายเรื่องที่แสดงว่า ดนตรีส่งผลต่อร่างกาย โดยสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอัตราการหายใจ อัตราการเต้นของชีพจร ความดันโลหิต การตอบสนองของม่านตา ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการไหลเวียนโลหิต ขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อจิตใจและสมอง คือ สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ สติสัมปชัญญะ จินตนาการ การรับรู้สภาพความเป็นจริง
ด้วยเหตุนี้นอกจากเราจะใช้ประโยชน์จากดนตรีเพื่อความสุนทรีย์แล้ว ปัจจุบันมีการนำดนตรีมาใช้ประโยชน์ เพื่อการฟื้นฟูเยียวยาจิตใจของผู้ป่วยและคนทั่วไปมากขึ้น
ดนตรีมีองค์ประกอบหลายอย่าง ซึ่งแต่ละองค์ประกอบนั้นต่างก็มีคุณสมบัติและประโยชน์แตกต่างกันไป
- จังหวะและลีลา (Rhythm) ช่วยเสริมสร้างสมาธิ และช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย
- ระดับเสียง (Pitch) เสียงในระดับสูงปานกลาง จะช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ
- ความดัง (Volume / Intensity) เสียงเบานุ่มทำให้เกิดความสงบสบายใจ ส่วนเสียงดังทำให้เกิดการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อได้ ความดังที่เหมาะสมจะช่วยสร้างระเบียบในการควบคุมตนเองได้ดี
- ทำนองเพลง (Melody) ช่วยในการระบายความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจ ทำให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์และลดความวิตกกังวล
- การประสานเสียง (Harmony) ช่วยในการวัดระดับอารมณ์ความรู้สึกได้ โดยดูจากปฏิทินที่แสดงออกมาเมื่อฟังเสียงประสานต่าง ๆ จากเพลง
การฟังดนตรี
ทำไมเราถึงต้องฟังดนตรี? คำตอบคือดนตรีให้ความสุขทางใจ และทำไมดนตรีให้ความสุขทางใจได้? นั่นเป็นสิ่งที่เรายังไม่ทราบ แม้ว่านักจิตวิทยาจะหาคำตอบมาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม มีบางทฤษฎีกล่าวว่า ดนตรีมีพลังที่จะปลุกเร้าความรู้สึกอารมณ์ หรือทำให้จิตใจที่ว้าวุ่นของมนุษย์เราให้สงบลงได้ ทำให้เกิดความรู้สึกเศร้าหรือเบิกบาน เชิญชวนให้อยากออกไปเต้นรำ หรือแม้แต่สร้างความรู้สึกฮึกเหิมในยามศึกสงคราม
ดนตรีกับการฟัง ดนตรีเป็นสิ่งที่ธรรมชาติให้มาพร้อม ๆ กับชีวิตมนุษย์โดยที่มนุษย์เองไม่รู้ตัว ดนตรีเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้มนุษย์มีความสุข สนุกสนานรื่นเริง ช่วยผ่อนคลายความเครียดทั้งทางตรงและทางอ้อม ดนตรีเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจของมนุษย์ให้มีความเบิกบานหรรษาให้เกิดความสงบและพักผ่อนกล่าวคือในการดำรงชีพของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายดนตรีมีความเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจสืบเนื่องมาจากความบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ โดยตรงหรืออาจเกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงประกอบในการทำงาน เพลงที่เกี่ยวข้องในงานพิธีการ เพลงสวดถึงพระผู้เป็นเจ้า เป็นต้น
ดนตรีเป็นศิลปะที่อาศัยเสียงเพื่อเป็นสื่อในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ไปสู่ผู้ฟัง เป็นศิลปะที่ง่ายต่อการสัมผัส ก่อให้เกิดความสุข ความปลื้มปิติพึงพอใจให้แก่มนุษย์ได้ นอกจากนี้ได้มีนักปราชญ์ท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “ดนตรีเป็นภาษาสากลของมนุษยชาติเกิดขึ้นจากธรรมชาติและมนุษย์ได้นำมาดัดแปลงแก้ไขให้ประณีตงดงามไพเราะเมื่อฟังดนตรีแล้วทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ” นั้นก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราได้ทราบว่ามนุษย์ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดภาษาใดก็สามารถรับรู้อรรถรสของดนตรีได้โดยใช้เสียงเป็นสื่อได้ เหมือนกันมีบุคคลจำนวนไม่น้อยที่ตั้งคำถามว่า
“ดนตรีคืออะไร” แล้ว “ทำไมต้องมีดนตรี” คำว่า “ดนตรี” ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่าเสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง, เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศกหรือรื่นเริง” จากความหมายข้างต้นจึงทำให้เราได้ทราบคำตอบที่ว่าทำไมต้องมีดนตรี ก็เพราะว่าดนตรีช่วยทำให้มนุษย์เรารู้สึกเพลิดเพลินได้ คำว่า “ดนตรี” มีความหมายที่กว้างและหลากหลายมากนอกจากนี้ยังมีการนำดนตรีไปใช้ประกอบในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราคุ้นเคย เช่น การใช้ประกอบในภาพยนต์ เนื่องจากดนตรีนั้นสามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการสร้างอารมณ์ลักษณะต่าง ๆ ของแต่ละฉากได้ พิธีกรรมทางศาสนาก็มีการนำดนตรีเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยจึงทำให้มีความขลัง ความน่าเชื่อถือ ความศรัทธา มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ดนตรีบางประเภทถูกนำไปใช้ในการเผยแพร่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มคนหรือเชื้อชาติ บางครั้งมนุษย์เราใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการแยกประเภทของมนุษย์ออกเป็นกลุ่ม ๆ เช่น วัยรุ่นในเมืองก็จะชอบฟังเพลงที่มีจังหวะหรือทำนองสนุก ๆ ครื้นเครง ความรักหวานซึ้ง ส่วนวัยรุ่นที่อยู่ในชนบทก็มักจะชอบฟังประเภทเพลงเพื่อชีวิต เพลงลูกทุ่ง วัยหนุ่มสาวก็ชอบเพลงทำนองอ่อนหวานที่เกี่ยวกับความรัก
เพลงจึงเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างบรรยากาศงานที่ดีมากๆไม่ว่าจะเป็นงานรูปแบบใด เพียงแค่เราต้องจัดเพลงที่เหมาะกับงานนั้นให้ดี งานก็จะออกมาดีตามความหมายของเพลงที่เราเล่นให้ฟังกันนะครับ