ข้อแนะนำสำหรับงานแต่งงานที่มี After Party (ตอนที่ 1 Lay out ห้อง)
ข้อแนะนำสำหรับงานแต่งงานที่มี After Party (ตอนที่ 2 เลือกประเภทวง)
ข้อแนะนำสำหรับงานแต่งงานที่มี After Party (ตอนที่ 3 เครื่องเสียงสำหรับนักดนตรี)
ใช้วงดนตรีในงานแต่งงาน แล้วต้องเพิ่มเครื่องเสียงสำหรับวงดนตรีหรือไม่?
ผมขอตอบว่าถ้าเป็น After Party ต้องใช้เครื่องเสียงเพิ่มเติมจากทางเราหรือจากทางออกาไนเซอร์ที่ไว้ใจได้ครับ แต่ถ้าเป็นดนตรีบรรเลงขับกล่อมแขกผู้มีเกียรติเฉยๆ (back ground music) และโรงแรมแจ้งว่ามีเครื่องเสียงอยู่แล้ว อาจไม่ต้องเพิ่มเครื่องเสียงก็ได้ อย่างไรลองอ่านรายละเอียดด้านล่างประกอบการพิจารณาครับผม
เครื่องเสียงสำหรับนักดนตรีนั้นไม่เหมือนเครื่องเสียงสำหรับพิธีการทั่วไปครับ โดยปกติราคาวงดนตรีไอเฮียร์แบนด์ของเรานั้น ตรง minigroovy จะมีราคาแบบรวมเครื่องเสียง กับราคาไม่รวมเครื่องเสียง หลายครั้งบ่าวสาวจะถามว่า ถ้าโรงแรมมีเครื่องเสียงให้แล้วสามารถจัดชุดเป็นราคาไม่รวมเครื่องเสียงได้หรือไม่ มีวิธีพิจารณาอย่างไรบ้าง
เครื่องเสียงนักดนตรีต่างกับเครื่องเสียงในการดำเนินงานทั่วไปอย่างไร?
เครื่องเสียงสำหรับออกงานทั่วไปนั้นจะประกอบไปด้วย Mixing board ซึ่งเป็นตัวรวบรวมสัญญานเสียงจากแหล่งต่างๆ + แอมปริฟายเออร์ สำหรับขยายสัญญานที่รวมมาแล้ว + ลำโพง P.A. เพื่อกระจายเสียงให้ผู้ฟังได้รับฟัง แต่เครื่องเสียงนักดนตรีมีอุปกรณ์ที่เยอะกว่าเครื่องเสียงในการดำเนินงานด้านประชาสัมพันธ์หรือการขายทั่วไปครับ สิ่งที่เพิ่มเติมมาเช่น
1. Mixer บอร์ดผสมเสียงที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ
เนื่องจากนักดนตรีต้องมีสัญญาณเข้าหลายช่อง เช่นช่องไมค์ ร้อง ไมค์ประสาน ไมค์กาฮอง ไมค์จับเสียงฉาบ ไมค์ไร้สายเครื่องเป่า สัญญาณเข้าซ้ายและขวาของคีย์บอร์ด การมี Mixing board ขนาดใหญ่กว่า 16 ช่องก็มีความสำคัญครับ นอกจากนั้นบอร์ดขนาดใหญ่ยังสามารถกำหนด output ได้หลายหลายช่องทาง (ฺBus) เพื่อป้อนให้ลำโพงมอนิเตอร์ต่างๆด้านล่าง
digital mixer สามารถเลือกแชนเนลเพิ่มได้ด้วยการกดพลิกหน้าจอ
2. ตู้แอมปริฟายเออร์สำหรับสำหรับนักดนตรีตำแหน่งต่างๆ
ตู้แอมปริฟายเออร์สำหรับเครื่องดนตรีอย่างเช่นคีย์บอร์ด กีต้าร์ หรือเบส ซึ่งตู้แอมป์เหล่านี้จะทำให้ผู้เล่นได้ยินเสียงจากการเล่นของตัวเองชัดเจนครับ
ด้านหลังของคุณอาร์ทมือเบส จะเห็นตู้ลำโพงที่มีปุ่มปรับมากมาย อันนี้คือตู้แอมป์สำหรับนักดนตรีครับ
3.ลำโพงมอนิเตอร์
ลำโพงมอนิเตอร์จะเป็นลำโพงที่วางบนพื้นด้านหน้านักดนตรี (หรือถ้าเป็น Bose L1 จะวางหลังนักดนตรีได้) ลำโพงเหล่านี้ทำให้ผู้เล่นได้ยินเสียงทั้งจากตัวเองและจากเพื่อนร่วมวงที่ร่วมเล่นด้วยกันครับ ลำโพงนี้สำคัญมาก ลองนึกว่านักดนตรีไม่ได้ยินกันเองอย่างชัดเจน หรือได้ยินแต่เสียงสะท้อนผนังจากลำโพง P.A. ที่อยู่ด้านหน้ามารบกวน ย่อมเล่นดนตรีได้ไม่สนุกหรือเล่นไม่ได้ดี (ถ้าเป็นเวทีใหญ่ หรือห้องใหญ่เสียงสะท้อนเยอะจะเล่นไม่ได้เลย)
ลองดูที่พื้นด้านหน้านักดนตรีแต่ละคน จะเห็นมีลำโพงวางราบอยู่เต็มไปหมด สิ่งนี้คือลำโพงมอนิเตอร์สำหรับนักดนตรีครับ ลำโพงนี้จะไม่มีตามระบบเครื่องเสียงโรงแรมและระบบเสียงของสถานที่ทั่วไป หากวงใหญ่ก็ต้องมีหลายตัวตามภาพ แต่วงเล็กก็ใช้แค่ 2-3 ตัว ถ้าไม่มีทางทีม iHearband จะมีลำโพง Bose L1 ใช้แทนมอนิเตอร์ได้ครับ
4. ลำโพง Sub-woofer
สำหรับวงอคูสติกปกติที่เราเห็นเล่นตามร้านเหล้า outdoor หรือร้านกาแฟทั่วไปนั้น จะไม่มีลำโพงตัวนี้ครับ เพราะไม่ได้ต้องการ dynamics เสียงต่ำย่านเบสเป็นพิเศษ แต่สำหรับวง iHearBand นั้น แม้จะเป็นชุดเล็กที่สุด Minigroovy คุณพัชรก็จะเล่นเสียงเบสไปด้วย และคุณนัทก็ตีกาฮองในลักษณะเดียวกับกลองชุด จึงต้องการลำโพงย่านเสียงต่ำเพื่อที่จะขยายไดนามิคของดนตรีได้สมบูรณ์ขึ้น จึงเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่มีใครเหมือนกับลักษณะการเล่นวงเล็กของชุด Minigroovy หรือแม้แต่ Micro Groovy สมาชิกสองคนก็ตามครับ หากขาดลำโพง Sub – woofer แต่ไปเปิด PA เสียงดัง เสียงที่ได้จะน่ารำคาญและออกไปทางบวมๆมาก
ลำโพงตัวบนสองตัวที่อยู่บนขาตั้งคือลำโพง PA ปกติซึ่งผู้ให้เช่าเครื่องเสียงต้องมีอยู่แล้ว แต่ลำโพงตัวใหญ่ด้านล่างที่อยู่บนพื้น เป็นลำโพง Sub-woofer ซึ่งย้ำว่าทางวงดนตรีต้องการลำโพงตัวนี้ด้วยนะครับ ที่ต้องถามเพราะผู้ให้เช่าเครื่องเสียงงาน event ทั่วไปบางเจ้าอาจไม่มีให้
สำหรับเครื่องเสียงในโรงแรมชั้นนำหลายแห่งนั้นสามารถตอบโจทย์วงขนาดเล็กได้เช่นกัน แต่อาจขาดลำโพงมอนิเตอร์ ดังนั้นทางวง iHearBand จึงมีชุดลำโพงมอนิเตอร์และตู้แอมป์เตรียมไว้พร้อมครับ สำหรับโรงแรมที่สามารถเข้าเล่นได้โดยต่อเครื่องเสียงกับโรงแรมเช่น ไฮแอทเอราวัณ, นารายณ์, ห้องจัดเลี้ยงขนาดใหญ่ใน Impact ก็มักจะมีผู้รับจ้างช่วงในการทำเครื่องเสียงให้เช่นกัน
การเลือกทีมเครื่องเสียง
ทีมเครื่องเสียงนั้นจะมีความถนัดที่ต่างกัน บางทีมมีความถนัดกับงานอีเว้นท์เปิดตัวสินค้า ไม่ได้ถนัดการจัดวงดนตรี บางทีมถนัดกับงานวัดก็มีครับเช่นทีมต่างจังหวัดลำโพงใหญ่เบสล้นงานมากๆ แต่ทีมที่เคยทำให้วงดนตรีจะต้องมีความเข้าใจดนตรีและมีรสนิยมที่ดี หากทางเจ้าภาพต้องการเช่าเครื่องเสียง ลองถามว่าเขาเคยจัดวงดนตรีสดให้ศิลปินคนใดมาบ้างก็ได้ครับ มีภาพงานหรือไม่ และเครื่องที่ใช้จัดเป็นเครื่องของเขาเองใช่หรือไม่ มีผู้ดูแลเสียงอยู่แล้วหรือไม่ มีกลองชุดหรือไม่ (ถ้ามีกลองมักจะมีประสบการณ์ในการทำงานยากๆได้ดี) สำหรับงานแต่งงานก็มีสองวัตถุประสงค์ ถ้าเป็นงานพิธีการปกติและเล่นดนตรีไม่หนักมากควรเน้นเครื่องเสียงที่มีรสนิยมแบบเสียงเต็มนุ่มบาล้านซ์ หรือถ้าเป็นปาร์ตี้ก็เน้นเสียงดุดันกีต้าร์สาดกระจายต้องลองถามผู้ให้เช่าก่อนครับ
สำหรับทีม iHearBand เรามีผู้ให้เช่าเครื่องเสียงที่ใช้กันเป็นประจำเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกัน 3 เจ้า ซึ่งมีทั้งแบบมาตรฐานราคาประหยัด ,นุ่มนวล HiFi และตูมตามสุดมันส์ จะกล่าวถึงในบล็อกต่อๆไปครับ